เจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ


พระครูศุภธรรมคุณ
(น.ธ.เอก , พธ.ม. กิตติมศักดิ์)
เจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ
เจ้าอาวาสวัดมะขามเรียง


 
บทความ
วาระประชุมประจำเดือน
วาระประชุมปี๒๕๕๕
การบริหารกิจการคณะสงฆ์
กรรมการมหาเถรสมาคม
ไวยาวัจกร
เจ้าอาวาส
งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
หน้าที่พระเลขานุการ
การสาธารณสงเคราะห์
การศึกษาสงเคราะห์
งานสาธารณูปการ
การปกครองคณะสงฆ์
บุคคลากร
หน่วย อ.ป.ต.
พระฐานานุกรม
รายนามพระครูสัญญาบัตร
การปกครองคณะสงฆ์อำเภอบ้านหมอ
บุคลากรสำนักงานเจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ
พระธรรมทูต
พระธรรมทูตอำเภอบ้านหมอ
แบบเอกสารคณะสงฆ์
ผลสอบสนามหลวง๒๕๕๔
แบบฟอร์มนักธรรมธรรมศึกษา
ดาวน์โหลดเอกสารคณะสงฆ์
ไหว้พระ อำเภอบ้านหมอ
หลวงปู่ตาบวัดมะขามเรียง
พระพุทธมงคลเฉลิมราชวัดราษฎร์ฯ
หลวงพ่อบัวขาววัดโบสถ์แจ้ง
หลวงปุ่สุ่มวัดโคกมะขาม
หลวงพ่อสิมมาวัดบ้านหมอ
หลวงพ่อเทียนชัยวัดสารภี
พระร่วงโรจนฤทธิ์วัดมหาโลก
วัดม่วงน้อย
วัดสร่างโศก
หลวงพ่อดำ
ประวัติวัดในอำเภอบ้านหมอ
วัดในตำบลตลาดน้อย
วัดในตำบลบ้านครัว
วัดในตำบลหนองบัว
วัดในตำบลโคกใหญ่
วัดในตำบลบ้านหมอ
คณะสงฆ์ในการปกครอง
คณะสงฆ์ตำบลตลาดน้อย
คณะสงฆ์ตำบลโคกใหญ่
คณะสงฆ์ตำบลหนองบัว
คณะสงฆ์ตำบลบ้านหมอ
คณะสงฆ์ตำบลบ้านครัว




งานสาธารณูปการ

25/06/2012 18:34 เมื่อ 25/06/2012 อ่าน 14720
งานสาธารณูปการ
เดิมทีเดียว  วงการพระพุทธศาสนาจะคุ้นเคยกับคำว่า  ”การปกครองคณะสงฆ์”  แต่เมื่อมาถึงปัจจุบัน  จะได้ยินหรือรับทราบถึงคำว่า   “การบริหารกิจการคณะสงฆ์”  เพิ่มมากขึ้น  ทั้งนี้เพราะ  “การปกครอง” ดูเหมือนจะเน้นการบังคับบัญชาโดยมีผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองเป็นผู้อยู่ในสายการปกครอง  ส่วน  “การบริหาร”  นั้น  มีนัยไปในทางการบริหารจัดการ หรือการเข้าไปดำเนินการในงานนั้นๆให้สำเร็จเรียบร้อยดีงาม
        อย่างไรก็ตาม การดูแลงานพระพุทธศาสนาของวงการสงฆ์นั้นจำต้องมีลักษณะของการปกครองและการบริหารจัดการควบคู่ไปด้วย เพราะแท้ที่จริงแล้ว พระพุทธศาสนาได้ให้ความหมายของคำว่า  การปกครอง  ดังที่ พระพรหมคุณาภรณ์  (.. ปยุตฺโต)  กล่าวถึงความหมายการปกครองตามทัศนะของพระพุทธศาสนาว่า การปกครองตามความหมายในพระพุทธศาสนาเป็นการปกครองเพื่อการศึกษา การปกครองและความสงบเรียบร้อยที่เกิดจากการปกครองนั้น มิใช่เป็นจุดหมายในตัว แต่เป็นเพียงปัจจัยคือสภาพเอื้อ เพื่อช่วยให้แต่ละบุคคลบรรลุจุดหมายแห่งการศึกษาหรือเพื่อเป็นหลักประกันของการศึกษาทั้งสิ้น  ถ้าไม่ปกครองด้วยการศึกษา ก็ต้องปกครองด้วยอำนาจ เมื่อปกครองด้วยอำนาจก็เกิดความรู้สึกในเชิงปฏิปักษ์  ที่เอียงไปในทางที่จะขัดแย้งกัน  ด้วยเหตุนี้  การปกครองแบบใช้อำนาจจึงก่อให้เกิดปัญหาเริ่มตั้งแต่เกิดความขัดแย้งในจิตใจเป็นต้นไป ทำให้ยิ่งต้องเพิ่มการใช้อำนาจ ใช้อาญา และจะเน้นการลงโทษมากยิ่งขึ้นตามลำดับไม่ใช่การปกครองแบบพยายามสร้างคนดี แต่เป็นการปกครองแบบพยายามกำจัดคนเลวนั่นเอง
        นอกจากนี้  พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโ) ได้กล่าวถึงการปกครองคณะสงฆ์ว่า การปกครองคณะสงฆ์นั้น แก่นแท้คือการปกครองตามพระธรรมวินัยคือยึดพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญการปกครอง โดยใช้อำนาจรัฐและจารีตเป็นหลักอุดหนุน คราวใดเกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นในคณะสงฆ์จนเป็นเหตุขัดข้องและจำเป็นต้องพึ่งรัฐ ได้อาศัยอำนาจรัฐเข้าช่วยจัดการแก้ข้อขัดข้อง ดังเช่นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การคณะสงฆ์และการพระศาสนาดำเนินมาได้ด้วยลักษณะเช่นนี้ โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงในประเทศไทย ครั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงถวายอำนาจรัฐช่วยคณะสงฆ์จัดระบบการปกครองขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยการที่ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์รัตนโกสินทรศก๑๒๑ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล   ได้ทรงตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ.๒๔๘๔  โดยยกเลิกฉบับแรกนั้น  ทั้งนี้เพื่อจัดระบบการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ให้มีรูปแบบคล้ายกับการปกครองของฝ่ายราชอาณาจักร ครั้นถึงรัชกาลปัจจุบัน  ได้ทรงตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕  และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๕  ได้ตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ใช้อยู่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวล่าสุดนี้  ถือว่าใช้เป็นรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์และเป็นหลักจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์อยู่ในปัจจุบันนี้
        ส่วน การบริหารนั้น พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ได้ให้ความชัดเจนถึงการบริหารตามแนวของพระพุทธศาสนาว่า พุทธวิธีบริหารยึดหลักธรรมาธิปไตยเป็นสำคัญด้วยเหตุผลที่ว่าผู้บริหารเองต้องประพฤติธรรมและใช้ธรรมเป็นหลักในการบริหาร พุทธวิธีบริหารจึงไม่เป็นทั้งเป็นอัตตาธิปไตย ผู้บริหารที่เป็นอัตตาธิปไตยก็มักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนหรือความพอใจของตนเป็นที่ตั้งโดยยึดคติว่าถูกต้องคือถูกใจข้าพเจ้า ผู้บริหารประเภทนี้มักลงท้ายด้วยการเป็นเผด็จการ ส่วยผู้บริหารที่เป็นโลกาธิปไตยก็พยายามเอาใจทุกคนเพื่อให้ตนเองอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ เขาพยายามทำให้ถูกใจทุกคนซึ่งก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารประเภทนี้มักหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้นภายในองค์กรก็พยายามลอยตัวหนีปัญหา ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นธรรมาธิปไตย เขายึดถือคติว่าถูกต้องไม่จำเป็นต้องถูกใจข้าพเจ้าหรือต้องถูกใจทุกคน เขากล้าตัดสินใจลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมโดยไม่พยายามลอยตัวหนีปัญหา เขาถือคติว่าอำนาจหน้าที่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบ เขายอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่กว่านั่นคือประโยชน์สุขส่วนรวม ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ถ้าเห็นว่าจะได้ประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่เพราะสละประโยชน์สุขเล็กน้อย บุคคลควรสละประโยชน์สุขเล็กน้อยเพื่อเห็นแก่ประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่” (ขุ.ธ. ๒๕/๘/๙)
        ควรกล่าวไว้ในที่นี้ว่า ธรรมาธิปไตยไม่ใช่ระบอบการปกครอง แต่เป็นวิธีการปกครองที่ถือธรรมเป็นใหญ่ ธรรมาธิปไตยใช้ได้กับการปกครองในระบบต่างๆ นั่นคือการปกครองไม่ว่าจะเป็นระบอบใดก็ถือว่าดีแท้ยังไม่ได้ถ้าไม่เป็นธรรมาธิปไตย แม้แต่ประชาธิปไตยก็อาจจะกลายเป็นเผด็จการโดยเสียงข้างมากถ้าไม่เป็นธรรมาธิปไตย
        ในระบอบการปกครองที่เป็นธรรมาธิปไตย ผู้บริหารสูงสุดต้องมีทั้งอัตตหิตสมบัติคือยึดธรรมประจำใจและมีปรหิตปฏิบัติคือมุ่งบำเพ็ญประโยชน์สุขส่วนรวมเมื่อผู้นำประพฤติธรรมสังคมส่วนรวมก็อยู่เป็นสุข ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
        “เมื่อฝูงโคข้ามฟากแม่น้ำ ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง โคเหล่านั้นย่อมไปตรงทั้งหมดในเมื่อโคผู้นำฝูงไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนนอกนี้ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน   ประชาชนทั้งประเทศย่อมอยู่เป็นสุข   ถ้าพระราชาทรงดำรงอยู่ในธรรม” (อง.จตุกก.๒๑/๗๐/๙๘)
        ดังนั้น  เมื่อพูดถึง  สังคมสงฆ์และการปกครองจึงต้องดูที่วินัยเป็นหลัก  เพราะวินัยเป็นทั้งโครงสร้าง และการจัดสภาพสังคมสงฆ์ให้เกิดความเรียบร้อยและพัฒนาบุคลากรในสังคมสงฆ์ ทุกคน จะรู้หน้าที่ของตนเอง ทั้งอำนาจ ขอบเขตของการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งวินัยจะเป็นหลักในการปฏิบัติและเป็นแกนกลางคอยยึดเหนี่ยวสังคมสงฆ์ ให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้หลักการเดียวกัน เพราะพระวินัยนั้นเป็นการจัดสรรโอกาส ให้ชีวิตและสังคม มีระเบียบและมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ทำอะไร ๆ ได้อย่างคล่อง ดำเนินชีวิตได้สะดวก ถ้าชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบก็จะสูญเสียโอกาส ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมสังคมให้เป็นไปด้วยดี ลักษณะสังคมสงฆ์ในครั้งสมัยพุทธกาลจึงแตกต่างจากสังคมโดยทั่วไป
        การบริหารกิจการคณะสงฆ์  พระธรรมปริยัติโสภณ  (วรวิทย์ คงฺคปญฺโ)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  ได้แก่  กิจการที่คณะสงฆ์จะต้องทำ  หรือที่จะต้องถือเป็นธุระหน้าที่เพราะเป็นการคณะสงฆ์และการพระศาสนา  หรือเพราะเกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการพระศาสนา  มี  ๖  ฝ่ายคือ
                        ๑.  การเพื่อความเรียบร้อยดีงาม  (การปกครอง)
                        ๒.  การศาสนศึกษา
                        ๓.  การศึกษาสงเคราะห์
                        ๔.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
                        ๕.  การสาธารณูปการ  และ
                        ๖.  การสาธารณสงเคราะห์
การสาธารณูปการ  หมายถึง  การก่อสร้างและการบูรณปฏิสังขรณ์  กล่าวคือหมายถึง
        ๑.  การก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุและศาสนสถาน
        ๒. การอื่นเกี่ยวกับการวัดคือการสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิก การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา  การยกวัดร้างเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา  และการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
๓.  กิจการอื่น ๆ  ของวัด  เช่น  การจัดงานวัด  การเรี่ยไร
            ๔.  การศาสนสมบัติของวัด  (ศบว.)
    อย่างไรก็ตาม  การสาธารณูปการ  เป็นงานที่ละเอียดอ่อน  ที่ผู้ปฏิบัติโดยตรงคือเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระสังฆาธิการระดับวัด  และเจ้าคณะทุกส่วนทุกชั้นต้องมีความสัมพันธ์กัน ๒ ประการคือ
            ๑.  ควบคุมการสาธารณูปการ
            ๒.  ส่งเสริมการสาธารณูปการ
  สำหรับการบริหารจัดการงานสาธารณูปการ ซึ่งเป็นงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับงานก่อสร้างและงานบูรณปฏิสังขรณ์ในวัดแล้ว แต่ยังมีงานอีกส่วนที่เป็นงานประเภทนี้ด้วยคือ
 ๑.  การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด    ๒. การจัดวางผังวัด ๓.  การจัดวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเรียนรู้  ๔. การจัดพิพิธภัณฑ์ในวัด สิ่งเหล่านี้สามารถนำมารวมกับงานสาธารณูปการได้เช่นเดียวกัน


เจ้าคณะตำบล


พระครูสังวรสิริธรรม
เจ้าคณะตำบลบ้านหมอ
เจ้าอาวาสวัดสร่างโศก


พระครูอุปถัมภ์ปิยกิจ
เจ้าคณะตำบลหนองบัว
เจ้าอาวาสวัดราษฎร์บำรุง


พระครูวินัยธรสนอง ธมฺมทินฺโน
เจ้าคณะตำบลโคกใหญ่
เจ้าอาวาสวัดโคกกุ่ม

พระครูเวชคามธรรมานุกิจ
เจ้าคณะตำบลบ้านครัว
เจ้าอาวาสวัดบ้านหมอ


พระครูโอภาสธรรมกิตติ์
เจ้าคณะตำบลตลาดน้อย
เจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้ง
 
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ19/03/2012
อัพเดท18/02/2013
ผู้เข้าชม166947
แสดงหน้า210562