1/06/2012 23:55 เมื่อ 1/06/2012
อ่าน 7440
| ตอบ 0


ตาม ประวัติที่ทราบเจ้าอาวาสมี ๓ รูปสุดท้ายคือ ๑ พระครูอนุวัตต์สมณคุณ (พระครูสิมา อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ) ซึ่งเป็นพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งของจังหวัดสระบุรี ปััจุบันได้สร้างรูปเหมือนประดิษฐานไว้ในวิหารด้านหน้าของวัดบ้านหมอ พ.ศ. ๒๔๘๐๒-๒๕๒๑ รูปที่ ๒ พระอธิการสุชาติเตชวณฺโณ เดิมพันธุ์วัฒน์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๔๐รูปปัจจุบันคือพระครูเวชคามธรรมานุกิจเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐จนถึงปัจจุบัน
ความเป็นมาของวัดบ้านหมอ ตามพงศาวดาร วัดบ้านหมอน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๔ แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๖ ดังปรากฏข้อความตามพงศาวดารว่าให้ช่างนำเรื่องไปคิดให้มีน้ำและศาลาโดยระยะ ทางผู้คนจะได้อาศัย เสนาบดีรับราชโองการ และก็ยกช้างไพร่ขึ้นไปเกณฑ์แบ่งให้ตับแต่งพระตำหนักท่าเจ้าสนุกและแบ่งให้ทำ ศาลาขุดบ่อบางโขมด และให้ขุดบ่อริมต้นโศก จึงได้ชื่อว่าบ่อโศก ขึ้นไปขุดบ่อที่ศาลากลางทาง พอพระสงฆ์และสามเณรเดินขึ้นไปเห็นทำศาลาอยู่เจ้าสามเณรจึงว่าศาลาทั้ง ๕ ห้อง ขั้นเสีย ๒ ห้อง ก่อเป็นฝากรงให้ดี คนจะได้อาศัยนอน ถ้าไม่มีฝาเสือจะกินเสียช่างทั้งปวงฟังสามเณรเห็นชอบก็ทำตามนั้นทำแล้วจึง ให้นานชื่อว่าศาลาเจ้าเณร บ่อน้ำ สระน้ำและศาลา ตามที่พระบรมราชพงศาวดารกล่าวไว้ ยังมีสระที่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันอีก ๔ แห่ง คือ สระยอ สระกลาง สระสีชมพู และสระสามเส้น สระทั้ง ๔ นี้ น่าจะมีในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน นับตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ค้นพบร้อยพระพุทธบาทในปี พ.ศ. ๒๑๖๓ พระองศ์ได้โปรดเกล้า ให้ฝรั่งชาวฮอลันดาส่องกล้องตัดทางสถลมารค กว้าง ๑๐ วา จากพระพุทธบาทตรงตลอดถึงท่าเรือ ในการตัดสร้างทางถนนนี้ใช้แรงงานช้างเป็นสำคัญ บรรดาช้างที่ถูกเกณฑ์มาใช้งานหากมีการเจ็บป่วยขึ้น ให้นำช้างที่ป่วยมารักษาที่ วัดโคก เพราะสถานที่นั้นเป็นโคกต่อมารัชกาลหลังจากพระเจ้าทรงธรรมการขุดบ่อและศาลา หรือ แม้กระทั่งการเสด็จพระพุทธบาท ถ้าหากช้างมีการเจ็บป่วยก็ให้นำมารักษาที่วัดนี้ และเรียกชื่อกันต่อมาว่า วัดโคกบ้านหมอ (ตามคำให้การขุนโขลน) (ปัจจุบันได้มีการปรับพื้นที่ใหม่แล้ว) ส่วนบางโขลนหรือสะพานช้าง ในสมัยนั้นเป็นย่านชุมนุมชน เป็นที่พักให้น้ำช้างในระยะแรกที่ออกเดินทางจากท่าเจ้าสนุก ช้างเมื่อเจ็บป่วยจึงต้องแยกมารักษาเพื่อป้องกันโรคติดต่อ อีกอย่างที่วัดนี้อาจมีหมอที่มีความสามารถในการรักษาช้างเก่งก็เป็นได้
วัดโคกบ้านหมอ ได้เปลี่ยนชื่อต่อมาเป็น วัดสิริจันทร์ (บางท่านว่าวัดจันทรังษี) ขึ้นอยู่กับเขตอำเภอหนองโดน มลฑลอยุธยา ต่อมาอำเภอหนองโดนย้ายตัวอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านหมอในที่สุดตำบลบ้านหมอได้ ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ส่วนที่อำเภอหนองโดนเดิมก็เป็นตำบลและยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอหนองโดนและเป็น อำเภอในที่สุด วัดสิริจันทร์จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดบ้านหมอตามชื่ออำเภอด้วย
วัดบ้านหมอ ตำบลบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
http://watbanmoh.myreadyweb.com/home
|