เจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ


พระครูศุภธรรมคุณ
(น.ธ.เอก , พธ.ม. กิตติมศักดิ์)
เจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ
เจ้าอาวาสวัดมะขามเรียง


 
บทความ
วาระประชุมประจำเดือน
วาระประชุมปี๒๕๕๕
การบริหารกิจการคณะสงฆ์
กรรมการมหาเถรสมาคม
ไวยาวัจกร
เจ้าอาวาส
งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
หน้าที่พระเลขานุการ
การสาธารณสงเคราะห์
การศึกษาสงเคราะห์
งานสาธารณูปการ
การปกครองคณะสงฆ์
บุคคลากร
หน่วย อ.ป.ต.
พระฐานานุกรม
รายนามพระครูสัญญาบัตร
การปกครองคณะสงฆ์อำเภอบ้านหมอ
บุคลากรสำนักงานเจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ
พระธรรมทูต
พระธรรมทูตอำเภอบ้านหมอ
แบบเอกสารคณะสงฆ์
ผลสอบสนามหลวง๒๕๕๔
แบบฟอร์มนักธรรมธรรมศึกษา
ดาวน์โหลดเอกสารคณะสงฆ์
ไหว้พระ อำเภอบ้านหมอ
หลวงปู่ตาบวัดมะขามเรียง
พระพุทธมงคลเฉลิมราชวัดราษฎร์ฯ
หลวงพ่อบัวขาววัดโบสถ์แจ้ง
หลวงปุ่สุ่มวัดโคกมะขาม
หลวงพ่อสิมมาวัดบ้านหมอ
หลวงพ่อเทียนชัยวัดสารภี
พระร่วงโรจนฤทธิ์วัดมหาโลก
วัดม่วงน้อย
วัดสร่างโศก
หลวงพ่อดำ
ประวัติวัดในอำเภอบ้านหมอ
วัดในตำบลตลาดน้อย
วัดในตำบลบ้านครัว
วัดในตำบลหนองบัว
วัดในตำบลโคกใหญ่
วัดในตำบลบ้านหมอ
คณะสงฆ์ในการปกครอง
คณะสงฆ์ตำบลตลาดน้อย
คณะสงฆ์ตำบลโคกใหญ่
คณะสงฆ์ตำบลหนองบัว
คณะสงฆ์ตำบลบ้านหมอ
คณะสงฆ์ตำบลบ้านครัว




การศึกษาสงเคราะห์

25/06/2012 18:34 เมื่อ 25/06/2012 อ่าน 8155
 ความหมาย
        การศึกษาสงเคราะห์ หมายถึง การจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล และการช่วยเหลือเกื้อกูลการศึกษา หรือสถาบันการศึกษาอื่น นอกจากการศาสนศึกษา หรือบุคคลผู้กำลังศึกษา

ประเภท
    โดยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
        ๑. โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
        ๒. โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
        ๓. โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
        ๔. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด

๑. โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
        ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  วัดจัดตั้งขึ้นเพื่อให้การศึกษาอบรมปลูกฝังศีลธรรม วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามแก่เด็กและเยาวชน สอนเฉพาะวันอาทิตย์ จัดตั้งตามระเบียบกรมการศาสนา ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยก่อตั้งครั้งแรกที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร โดยนำแบบอย่างการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกาที่จัดการเรียนการสอนแก่เด็กและเยาวชนในวันอาทิตย์มาเป็นแนวทางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเด็กและเยาวชน ไทยเรา และก็ได้แพร่หลายขยายสาขาออกไปทั่วประเทศ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นในประเทศศรีลังกา และประเทศไทยนั้น มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มา แต่มีความมุ่งหมายในแนวทางเดียวกัน คือ ต้อง การให้เด็กและเยาวชนได้มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา เรียนรู้หลักธรรมคำสอนแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ เมื่อเติบ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีจริยธรรมและคุณธรรม เป็นแบบอย่างในสังคม ตามที่กล่าวว่า มีปรารภเหตุที่แตกต่างกันของที่มานั้น กล่าวคือ ประเทศศรีลังกาได้ถูกปกครองโดยประเทศนักล่าอาณานิคมมานานหลายสิบปี พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา ก็ถูกเบียดเบียนจากนักปกครองชาวต่างชาติต่าง ศาสนา ที่ต้องการให้ผู้คนของศรีลังกาหันไปนับถือศาสนา ของพวกเขา วัดวาอารามหรือพุทธสถานบางแห่งจะถูกพวก ต่างชาติที่เข้ามาปกครองยึดไปเป็นศาสนสถานของตน ทำให้ชาวศรีลังกาที่หนักแน่นศรัทธาในพระพุทธศาสนาขมขื่นใจไม่ใช่น้อย
        ครั้นเมื่อประเทศศรีลังกาได้รับอิสรภาพแล้ว ก็มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ จึงจัดให้มีโรงเรียนศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดเรียนของทางราชการ ให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษากันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ทำให้สถานะของพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกากลับมามีบทบาทในสังคมศรีลังกาอย่างสำคัญอีกครั้ง ซึ่งนับวันจะยิ่งมั่นคงแข็งแรงขึ้นตามลำดับ
        สำหรับประเทศไทยที่ได้มีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น ก็โดยปรารภถึงเด็กและเยาวชนของ ชาติที่นับวันจะเหินห่างพระพุทธศาสนามากขึ้นทุกที เพราะโรงเรียนที่เคยมีอยู่ในวัดวาอารามต่างๆ ก็ไปมีอยู่นอกวัด ทำให้เด็กห่างวัด การศึกษาแผนใหม่แม้ไม่ขัดแย้งกับคำสอน ในพระพุทธศาสนา แต่ก็จะไม่เกื้อกูลต่อพระศาสนา ถ้าครูผู้สอนไม่รู้จักนำธรรมะในพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิชาการสมัยใหม่ อีกทั้งสังคมเมืองใหญ่ก็ล้วน มีสิ่งล่อสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กและเยาวชนหันเหไปในทางผิดได้เสมอ และก็มีตัวอย่างที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชนให้ เป็นข่าวปรากฏตามสื่อมวลชนอยู่ไม่น้อย ทำอย่างไรที่จะให้ เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงคำสอนในพระพุทธศาสนา แล้วนำไป ประพฤติปฏิบัติ เป็นภูมิคุ้มกันให้พวกเขาก้าวพ้นห้วงเหวของความไม่ดีไม่งามต่างๆไปได้ จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียน พุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น
        โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของไทยเราตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ไม่ได้สอนเฉพาะเรื่องพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาการต่างๆ เข้ามาเสริมด้วย เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ดนตรี นาฏศิลป์ และวัฒนธรรมไทย เป็นต้น เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่มีใจรักในวิชาการเหล่านี้ได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ และเกื้อกูลกับวิชาที่เด็ก เรียนในโรงเรียนประจำ แต่ปัญหาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่หนักอกผู้บริหารมาตลอด ก็คือ ขาดทุนทรัพย์ในด้านการจัดการศึกษา ในสำนักเรียนใหญ่หรือวัดใหญ่ในเมืองที่มีฐานะดี เพราะมีรายได้จากศาสนสมบัติของวัด เช่น ค่าเช่าตึกอาคารพาณิชย์ และที่ดินของวัด(ที่กัลปนาสงฆ์)ก็สามารถจัดการศึกษาได้อย่างยั่งยืนถาวร แต่ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ หรือวัดเล็กๆ ไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่สามารถจะจัดการศึกษาให้ดำเนินไปได้โดยตลอด ต้องอาศัยกำลังศรัทธาของชาวบ้าน และครูบาอาจารย์จากโรงเรียนภายนอกเข้ามาช่วยสอน ซึ่งก็เป็นการเสียสละของพวกเขาที่น่าสรรเสริญ นอกจากนั้น ก็จะมีปัญหาบุคลากร คือ พระที่สอน ถ้าเป็นสำนักเรียนเล็กๆ จะหาพระเป็นอาจารย์สอนยากอยู่ เพราะไม่ใช่ว่าเป็นพระแล้วจะสอนธรรมะได้ทุกรูปทุกองค์ ไป หรือสอนได้ แต่ไม่ค่อยดี เด็กไม่เข้าใจ ก็เกิดการเบื่อหน่าย เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในระยะแรกของการเปิดเรียน จะมีเด็กมาสมัครเรียนจำนวนมาก แต่เรียนไป ๓-๔ อาทิตย์ เด็กจะเริ่มถอยห่างออกมา เพราะเกิดการเบื่อเรียนแล้วไม่เข้าใจ จำนวนของนักเรียนก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
        หลักสูตรการเรียนการสอนก็เป็นอีกปัญหาที่สำคัญ เพราะถ้าเขียนหลักสูตรยากไป การเรียนการสอนก็ยากตาม เด็กไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะวุฒิภาวะไม่ถึงขั้นที่จะรู้ได้ ก็เรียนไปโดยท่องจำอย่างเดียว เด็กก็เบื่อหน่าย กลายเป็นนกแก้วนกขุนทองที่พูดภาษาคนได้ แต่ไม่รู้ความหมายที่ แท้จริงคืออะไร
        ปัญหาที่หนักมากก็คือ เรื่องงบประมาณในการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยงานวิจัยโรงเรียน พุทธศาสนาวันอาทิตย์ปี ๒๕๔๗ ระบุว่า วัดที่จัดการเรียนการ สอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น ได้รับเงินอุดหนุนเพียง  บาทต่อเด็ก  คน ซึ่งทางกรมกรมการศาสนากล่าวถึงสาเหตุ ที่งบประมาณมีน้อยว่า เนื่องจากมีการนับจำนวนที่ซับซ้อน และมีการประเมินในลักษณะธุรกิจ คือ ถ้าลงทุนไปแล้ว ประชาชนจะได้อะไร
        การที่วัดจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นมา ก็มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า ต้องการให้เด็กและเยาวชนของชาติได้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำความรู้ คือ หลักธรรมคำสอนไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เป็นการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็ก และเยาวชน ให้เป็นคนดีของสังคม ก็จะทำให้สังคมสงบสุขอยู่ได้
        แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่ให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนอย่างถูกต้อง เด็กและเยาวชนก็จะมีความ คิดที่ไม่ดี การพูดก็ไม่ดี การกระทำก็ไม่ดี สังคมเดือดร้อน เป็นเรื่องที่รู้เห็นกันอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรมองกันในด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุนิยมเพียงฝ่ายเดียว ต้องมองถึงเรื่องศาสนาด้วย เพราะศาสนา เป็นเรื่องของจิตใจ ถ้าจิตใจไม่ดีเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะสร้างเศรษฐกิจ หรือรักษาเศรษฐกิจให้ดำรงอยู่ได้ หลายคนล้มเหลวในทางเศรษฐกิจมีให้เห็นกันอยู่มากมาย สงครามเล็กใหญ่ การก่อการร้าย ก็ล้วนเรื่องวัตถุนิยม มุ่งผลที่เป็นวัตถุที่ตนจะได้รับเป็นที่ตั้ง สังคมจึงเดือดร้อนกันจนทุกวันนี้ นั่นก็คือเราขาดการปลูกฝังด้านคุณธรรมให้ เกิดขึ้นในใจนั่นเอง
        เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า ถ้าลงทุนไปแล้ว ประชาชนจะได้อะไร จึงเป็นคำถามของคนที่ไม่เข้าใจอะไรเลย เหมือนกับตักบาตรพระแล้วถามว่าจะได้อะไร และถ้าคนในสังคมไทยเรายังติดอยู่กับวัตถุนิยมอย่างไม่ลืมหูลืมตาอย่างนี้ โอกาสที่จะพัฒนาการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะในชื่อของโรงเรียน หรือชื่อของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ก็ไม่มีโอกาสขยายให้กว้างขวางออกไป ได้อย่างที่วาดฝันไว้ว่า จะมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทุกตำบลทั่วประเทศ
        เรื่องการจัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อเป็นการเสริมคุณธรรมนำความรู้ และเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ปฏิรูปสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขบนพื้นฐานคุณธรรมร่วมกันโดยมุ่งเน้นเด็กและเยาวชนให้เข้าวัด
        'วัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่จะเข้ามาศึกษาในหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก วิปัสสนากัมมัฏฐาน วิชาเสริมในหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และวิชาที่เยาวชนสนใจ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาของชุมชน และเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ให้เด็กเยาวชนและประชาชนได้เข้าถึงหลักธรรมและวิธีปฏิบัติตามหลักธรรมที่ถูกต้องและเพียงพอเพื่อเป็นแหล่งสืบค้นทางภูมิปัญญาท้องถิ่นประวัติชุมชนศิลปวัฒนธรรมการศึกษาและพระพุทธ ศาสนาโดยจัดเป็นห้องสมุดทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกด้วย'
        การดำเนินงานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในรูปลักษณ์ใหม่ ซึ่งจะมีการบริหารจัดการในเชิงรุก โดยมีการปรับบทบาทใหม่แตกต่างจากศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในอดีต เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ กล่าวคือ จะมีบทบาทอันหลากหลาย กว้างขวางสามารถรองรับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มเป้าหมายของสังคม กล่าวคือ นอกจากจะพัฒนาเด็กและเยาวชนแล้ว ยังมีบทบาทที่จะพัฒนากลุ่มข้าราชการและกลุ่มประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ให้กับประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในวิชาการต่างๆ แบบไม่มีวันหยุด ทั้งวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแนวทางในการดำเนินงานจึงจำเป็นต้องการดำเนินการไปตามขั้นตองนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งไปจนถึงขั้นตอนของการดำเนินงานให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับคนในชุมชนและศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์นี้จะเป็นศูนย์รวมกิจกรรมในมิติศาสนาและวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนและประชาชนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงามผู้ที่จะจัดตั้งและดำเนินการจะต้องเป็นบุคคลที่เสียสละเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวม ในระเบียบใหม่ของกรมการศาสนาได้เปิดกว้างให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการจำเป็นต้องยึดตามระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
        ๑. สถานที่จัดตั้งศูนย์เช่น วัด มูลนิธิ สมาคม สถานศึกษา หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน เป็นต้น
        ๒.การบริหารจัดการศูนย์โดยมีคณะกรรมการบริหารศูนย์
        ๓.การขอจัดตั้งศูนย์ในกรุงเทพมหานครยื่นขอจดทะเบียนต่อกรมการศาสนา
        โดยความเห็นชอบของเจ้าคณะแขวง เจ้าคณะเขตและเจ้าคณะจังหวัด ในส่วนภูมิภาคยื่นขอจดทะเบียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ นายอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดโดยให้วัฒนธรรมจังหวัดเป็นนายทะเบียนและเมื่อจดทะเบียนแล้วให้รายงานไปยังกรมการศาสนา
        ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในรูปลักษณ์ใหม่ จะเป็นพลังสำคัญที่จะพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับคนในชุมชนแบบครบวงจร ภายใต้การสนับสนุนของประชาชนในชุมชนเองอย่างเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาคุณภาพทุกช่วงวัยของชีวิตของประชาชนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุขยิ่งขึ้น
        เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย  วัฒนธรรมไทย  และ พระพุทธศาสนาพื้นฐานของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพรหมคุณาราม  ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  มีประสิทธิภาพ  สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์  จึงสมควรมีระเบียบข้อปฏิบัติสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง

    ธรรมะสำหรับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
        ๑.สังคหวัตถุ ๔ (ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน)
        ๒.มงคล ๓๘ (เพื่อชีวิตที่งอกงาม)
        ๓.สัปปุริสธรรม ๗ (ส่งเสริมความเป็นมนุษย์)
        ๔.ศีล ๕ (ส่งเสริมความเป็นมนุษย์)


๒. โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
        โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์  เป็นโรงเรียนอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาของเอกชน อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ และเป็นโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์ เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ดำเนินการกิจการคณะสงฆ์เพื่อพัฒนาส่งเสริมและสงเคราะห์เด็กและเยาวชนเพื่อให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสใกล้วัดวาอารามยิ่งขึ้น

    ธรรมะสำหรับโรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
        ๑.สังคหวัตถุ ๔  (ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน)
        ๒.ทิฏฐธัมมิกัตถะ (สร้างฐานะในปัจจุบัน)
        ๓.สัมปรายิกัตถะ (สร้างอนาคต)
        ๔.ฆราวาสธรรม ๔ (สร้างครอบครัวที่อบอุ่น)


๓. โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
        โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา แต่เดิมเป็นโรงเรียนราษฎร์ของวัด โดยที่วัดจัดตั้งเป็นมูลนิธิของวัดเพื่อช่วยเหลือประชาชนเป็นหลัก
    
    
ธรรมะสำหรับโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

        ๑.สังคหวัตถุ ๔ (ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน)
        ๒.ทิศ ๖ (ส่งเสริมความสัมพันธ์ในสังคมมนุษย์)
        ๓.กุศลกรรมบถ ๑๐ (เส้นทางสู้สุคติ)
        ๔.บุญกิริยาวัตถุ ๓ (เส้นทางในการสร้างบุญ)


๔. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์
    ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดกำหนดแนวทางหลักการดำเนินการไว้ดังนี้
        ) การเป็นโรงเรียนที่จัดขึ้นเพื่อการกุศล ไม่เก็บค่าธรรมเนียม
        ) สอนเด็กก่อนเกณฑ์ทั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่ ๓-๕ ปี
        ) ครูสอน คือ พระภิกษุ สามเณร ฆราวาส ครูช่วยสอนและครูพี่เลี้ยง

    การจัดตั้งศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมโดยรวมในการจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด มีหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งดังต่อไปนี้
        ) มีคณะกรรมการบริหารศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
        ) เจ้าอาวาสเป็นผู้เสนอรายงานขออนุญาตจัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
        ) มีครูผู้สอนทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
        ) มีครูพี่เลี้ยง อายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์และวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
        ) วัดจะต้องพร้อมในด้านบุคลากร อาคาร สถานที่ และงบประมาณในการบริหารศูนย์
        ) เจ้าอาวาสจะต้องเป็นประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์
        ) มีอาคารสถานที่เหมาะสมปลอดภัย และเพียงพอกับจำนวนเด็ก
        ) มีเด็กที่พร้อมจะเข้ามารับการดูแลอบรม จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน
        ) เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย
        ๑๐) บริเวณที่จัดตั้ง ไม่มีหน่วยงานอื่นดำเนินการจัดตั้งศูนย์ในลักษณะเดียวกัน และไม่ ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น

        ผู้บริหารศูนย์ ได้แก่ เจ้าอาวาสวัดที่ดำเนินงานศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งศูนย์ โดยเจ้าอาวาสอาจมอบหมายให้ผู้อื่นรับผิดชอบแทนเจ้าอาวาสในการบริหารหรือจัดการภายในศูนย์ได้ ทั้งนี้ถือว่าเจ้าอาวาสยังเป็นผู้บริหารศูนย์โดยตำแหน่ง (กรมการศาสนา, ๒๕๔๒) และการดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดอาศัยแนวทางจากกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๔ และฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๐๖) ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของพระสังฆาธิการหรือพระภิกษุดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ อันได้แก่ เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาส ไว้ข้อหนึ่งว่า 'ควบคุมและส่งเสริมการศึกษา ความเรียบร้อยดีงาม การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ให้ดำเนินการไปด้วยดี' การจัดการศึกษาให้แก่เด็กและประชาชนให้มีความรู้ขั้นอ่านออกเขียนได้ ให้ทั่วถึงแบบโรงเรียนวัดสอนเด็กก่อนเกณฑ์นี้จัดได้ว่า เป็นการศึกษาสงเคราะห์เด็ก และการสาธารณสงเคราะห์ประการหนึ่ง และการจัดการศึกษาประเภทใดหรือระดับใดก็ตาม ถ้าสามารถจัดโดยวัดหรือพระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการแล้วนับเป็นการทำให้เด็ก หรือประชาชนได้ใกล้ชิดหรือเข้าวัดมากขึ้น มีศีลธรรม และเป็นคนโดยสมบูรณ์ มากกว่าเด็กหรือประชาชนที่ไม่มีโอกาส ดังกล่าว (กรมการศาสนาและกรมการศึกษานอกโรงเรียน, ๒๕๔๐)

    ธรรมะสำหรับศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์
        ๑.สังคหวัตถุ ๔ (ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน)
        ๒.พรหมวิหาร ๔
        ๓.กุศลมูล ๓ (รากฐานของคนดี)
        ๔.ธรรมะที่พึงเว้น (กรรมกิเลส ๔, อบายมุข๔, อนันตริยกรรม๕, อคติ๔)


บทสรุป
        การศึกษาสงเคราะห์ หมายถึง การจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลหรืออุดหนุนจุนเจือ การศึกษาอื่นนอกจากศาสนศึกษาหรือสถาบันการศึกษา หรือบุคคลผู้กำลังศึกษาเล่าเรียน  การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาประชากรของประเทศให้เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงของชาติ และสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติอย่างยิ่ง ซึ่งบทบาทพระสงฆ์ไทย ได้ทำหน้าที่จัดการศึกษาและให้การศึกษาแก่คนไทยตั้งแต่อดีตมาแล้ว เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไปทำให้บทบาทและหน้าที่ของพระสงฆ์ลดลง ก็คงเหลือแต่การศึกษาสงเคราะห์เท่านั้น ดังนั้น การศึกษาสงเคราะห์คือการให้การสงเคราะห์แก่รัฐในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน อนึ่งมหาเถรสมาคมยังได้ให้ความสำคัญของการศึกษาสงเคราะห์โดยประกาศ เรื่องการตั้งทุนสงเคราะห์แก่นักเรียนนักศึกษา โดยกำหนดข้อสัญญัติในเรื่องการตั้งทุนว่า การตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา ให้เป็นไปตามกุศลเจตนาของวัดทั้งหลายที่มีกำลังและสามารถจะจัดจะทำได้ มิให้มีการบังคับด้วยประการใดๆ ห้ามมิให้นำเงินการกุศลหรือเงินผลประโยชน์ หรือเงินอื่นใดของวัดมาจัดตั้งทุนเพื่อการนี้ ห้ามมิให้วัดกู้ยืมเงินมาจัดตั้งเป็นทุนไม่ว่าจะเป็นการตั้งทุนชั่วคราวหรือการตั้งทุนถาวรเป็นต้นการสงเคราะห์ให้คนหรือประชาชนได้รับการศึกษา ยังไม่มีครูฝ่ายฆราวาสเพียงพอ ก็ได้อาศัยศาลาหรือเสนาสนะใดๆ ของวัดเป็นโรงเรียน พระสงฆ์เห็นความจำเป็นที่บุตรหลานของประชาชนในท้องที่ของวัดนั้นจะต้องมีโรงเรียนให้เรียน  ก็ช่วยกันชักชวนนำประชาชนช่วยสร้างโรงเรียนขึ้นในวัด  เพื่อให้บุตรหลานของชาวบ้านได้เล่าเรียน  รัฐบาลก็เผดียงสงฆ์ให้ช่วยรับภาระจัดโรงเรียนและเป็นครูสอน  นับเป็นการศึกษาสงเคราะห์ของวัดและพระสงฆ์  ตั้งแต่แรกที่รัฐเริ่มจัดการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   
        การศึกษาสงเคราะห์เป็นการศึกษาที่นอกเหนือจากการศึกษาภาคปริยัติธรรม พระเทพโสภณให้ความหมายและแนะนำจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ว่า การศึกษาสงเคราะห์เป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาชนได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรมนอกเหนือจากการสงเคราะห์ในวัดหรือสถานที่ศึกษาต่างๆ การตั้งศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ การดึงเด็กและเยาชนมาศึกษาธรรม การเปิดสอนธรรมศึกษาให้แก่เด็กและนักเรียนนั้นจัดพระสงฆ์ให้เข้าอบรมในสถานที่ศึกษา การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เปิดให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาในช่วงภาคฤดูร้อน และการมอบทุนการศึกษาสงเคราะห์ การตั้งทุนนิธิเพื่อการศึกษาเหล่านั้น จัดเป็นการศึกษาสงเคราะห์
        
สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี (พ.ศ. ๑๗๘๑  ๑๙๒๑) เป็นการศึกษาแบบโบราณ มีความเจริญสืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยกรุงสุโขทัย รัฐบาลและวัดรวมกันเป็นศูนย์กลางแห่งประชาคม  กิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐและวัดย่อมเป็นการสอนประชาชนไปในตัว  วิชาที่เรียน คือ ภาษาบาลี ภาษาไทย และวิชาสามัญชั้นต้น สำนักเรียนมี ๒ แห่ง คือ วัดเป็นสำนักเรียนของบรรดาบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป  มีพระที่เชี่ยวชาญภาษาบาลีเป็นครูสอน เพราะสมัยนั้นเรียนภาษาบาลีกันเป็นพื้น ใครรู้พระธรรมวินัยแตกฉานก็นับว่าเป็นปราชญ์  และสำนักราชบัณฑิตซึ่งสอนเฉพาะเจ้าหน้าที่บุตรหลานข้าราชการเท่านั้น 
        ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓๒๓๑๐) การศึกษาทั่วไปตกอยู่แก่วัด ราษฎรนิยมพาลูกหลานไปฝากพระเพื่อเล่าเรียนหนังสือ พระก็ยินดีรับไว้ เพราะท่านต้องมีศิษย์ไว้สำหรับปรนนิบัติ ศิษย์ได้รับการอบรมในทางศาสนา ได้เล่าเรียนอ่านเขียนหนังสือไทยและบาลีตามสมควร เพื่อเป็นการตระเตรียมสำหรับเวลาข้างหน้าเมื่อเติบโตขึ้นจะได้สะดวกในการอุปสมบท การให้ผู้ชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์อุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น เป็นประเพณีที่มีมานานแล้ว

        คณะสงฆ์กำหนดการศึกษาสงเคราะห์เป็นกิจของคณะสงฆ์ แบ่งออกเป็น ๒ ประการ คือ
        ๑) การศึกษาอื่นนอกจากการศาสนศึกษาที่พระสงฆ์ดำเนินการเพื่อสงเคราะห์ประชาชนหรือพระภิกษุสามเณร
        ทั้งนี้ การตั้งทุนสงเคราะห์นักเรียน เป็นงานหนึ่งของคณะสงฆ์ จัดอยู่ในการศึกษาสงเคราะห์ที่เป็นงานของคณะสงฆ์ ดำเนินการโดยคณะสงฆ์เพื่อประชาชนมีหลักเกณฑ์และวิธีการไว้ชัดเจนตามประกาศของมหาเถรสมาคมและข้อบัญญัติที่กำหนดไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗, ๒๕๒๙ และ ๒๕๓๒ ตามลำดับ
        ๒) 
พระสงฆ์ยังมีบทบาทการพัฒนาทางด้านจิตใจ บทบาทในด้านการส่งเสริมศีลธรรม บทบาทการพัฒนาด้านศาสนวัตถุ สถานที่ บทบาทการพัฒนาวัดในด้านศาสนพิธี บทบาทด้านการปกครองมีส่งเสริมหมู่คณะสงฆ์ด้วยกัน บทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์ จัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ วัดเป็นศูนย์กลางสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เป็นศูนย์รวมที่สร้างคุณธรรมจริยธรรมและสามัคคีธรรมในท้องถิ่น บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาจริยธรรมให้กับประชาชน บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาด้านการศึกษา มีการอบรมจริยธรรมนักเรียนตามโรงเรียนและหมู่บ้าน บทบาทด้านการพัฒนาการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จัดบริเวณวัดให้เป็นอุทยานการศึกษา ปัญหาและข้อเสนอแนะพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน พบว่า ด้านการศึกษาสงเคราะห์ พระสงฆ์บางรูปยังมีความรู้น้อย ด้านการเผยแพร่ธรรม ขาดพระสงฆ์ที่มีความรู้ความชำนาญการเผยแพร่ธรรม ด้านงานสาธารณสงเคราะห์ หน่วยงานราชการและประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญบทบาทของพระสงฆ์ในการทำหน้าที่ ข้อเสนอแนะของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน พบว่า ด้านการศึกษาสงเคราะห์พระสงฆ์ควรช่วยเป็นวิทยากรสอนเด็กนักเรียนในโรงเรียนหรือสถานศึกษา ด้านการเผยแพร่ธรรมพระสงฆ์ควรจัดให้มีเทศน์ทุกวันพระหรือวันสำคัญ ด้านงานสาธารณสงเคราะห์ พระสงฆ์ควรมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหากับชุมชนอย่างแท้จริง

 



เจ้าคณะตำบล


พระครูสังวรสิริธรรม
เจ้าคณะตำบลบ้านหมอ
เจ้าอาวาสวัดสร่างโศก


พระครูอุปถัมภ์ปิยกิจ
เจ้าคณะตำบลหนองบัว
เจ้าอาวาสวัดราษฎร์บำรุง


พระครูวินัยธรสนอง ธมฺมทินฺโน
เจ้าคณะตำบลโคกใหญ่
เจ้าอาวาสวัดโคกกุ่ม

พระครูเวชคามธรรมานุกิจ
เจ้าคณะตำบลบ้านครัว
เจ้าอาวาสวัดบ้านหมอ


พระครูโอภาสธรรมกิตติ์
เจ้าคณะตำบลตลาดน้อย
เจ้าอาวาสวัดโบสถ์แจ้ง
 
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ19/03/2012
อัพเดท18/02/2013
ผู้เข้าชม166956
แสดงหน้า210571